เมนู

อรรถกถาทุกขสูตรที่ 2



พึงทราบวินิจฉัยในทุกขสูตรที่ 2 ดังต่อไปนี้ :-
แม้ทุกขสูตรที่ 2 พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ตามอัธยาศัยของ
เวไนยสัตว์ ผู้จะตรัสรู้ ด้วยคำว่า ทุกฺขํ โดยทรงประกอบขันธ์ 5
เข้ากับอริยสัจ 4.
จบ อรรถกถาทุกขสูตรที่ 2

3. สักกายสูตร



ว่าด้วยสักกายะ ตามแนวอริยสัจ 4



[284] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจัก
แสดงสักกายะ ความเกิดขึ้นแห่งสักกายะ ความดับแห่งสักกายะ และ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสักกายะ เธอทั้งหลายจงตั้งใจฟัง.
[285] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะ คืออะไร ?
สักกายะนั้นมีคำที่จะพึงกล่าวว่า. คืออุปาทานขันธ์ 5 อุปาทานขันธ์ 5
คืออะไร ? คือ อุปาทานขันธ์คือรูป ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า สักกายะ.
[286] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กายสมุทัยคืออะไร ? คือ ตัณหา
ที่ให้เกิดในภพใหม่ ไปด้วยกันกับความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความ
เพลิดเพลิน เพลิดเพลินนักในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา-
วิภวตัณหา.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า สักกายสมุทัย.

[287] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคืออะไร ? คือ
ความดับโดยการสำรอกตัณหานั้นนั่นแหละไม่มีเหลือ การสละ
การสลัดทิ้ง การปล่อยไป การไม่อาลัยใยดี.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคต
เรียกว่า สักกายนิโรธ.
[288] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา
คืออะไร ? คืออริยมรรคมีองค์ 8 นี้เอง ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ สัมมา-
สังกัปปะ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย นี้เราตถาคต เรียกว่า-
สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สักกายสูตรที่ 3

อรรถกถาสักกายสูตรที่ 3



แม้สูตรที่ 3 ก็เหมือนกัน คือพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ผู้จะตรัสรู้ได้ ด้วยคำว่า สกฺกาโย โดย
ทรงประกอบขันธ์ 5 เข้ากับอริยสัจ 4.
จบ อรรถกถาสักกายสูตรที่ 3

4. ปริญเญยยสูตร



ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้



[289] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรม
ที่ควรกำหนดรู้ การกำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้ ขอเธอทั้งหลาย
จงตั้งใจฟัง.